บทที่4

โทษของการขาดสารอาหาร
โรคขาดสารอาหารที่สำคัญและพบเห็นบ่อยในประเทศ มีดังนี้
  • โรคที่เกิดจากการขาดสารโปรตีนและแคลอรี เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน น้อยเกินไป หรือสารอาหารเหล่านี้มีคุณภาพไม่ดี โรคนี้พบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยเฉพาะทารกและเด็กก่อนวัยเรียน อันเนื่องมาจากการขาดดูแลเอาใจใส่เรื่องการกินอาหารหรือไม่มีความรู้ทางโภชนาการ หรือการนำนมข้นหวาน และนมผงผสม ที่มีสารอาหารน้อยเกินไปสำหรับเด็กมาให้เด็กทาน อาการของโรค ร่างกายจะผอมแห้ง จะมีการบวมที่ท้อง หน้า ขา ศีรษะโต ผิวหนังเหี่ยว การแก้ไขให้ป้องกันโดยการดื่มนมวัว หรือนมถั่ว เหลือง เพิ่มขึ้นเพราะน้ำนมเป็นอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่สมบูรณ์ที่สุด 
  • โรคขาดวิตามิน ที่พบมากในประเทศไทยเป็นโรคที่เกิดจากวิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง ซี
  • - ขาดวิตามินเอ ทำให้เกิดโรค ตาฟาง ตาบอกกลางคืน ป้องกันกินอาหารประเภทไขมัน และผักใบเขียว ใบเหลือง เช่น มะละกอ คะน้า ตำลึง ไข่ นมมะม่วงสุก ผักบุ้ง
    - ขาดวิตามินบีหนึ่ง ทำให้เกิด ใจสั่น โรคหัวใจโตและเต้นเร็ว หอบ เหนื่อย โรคเหน็บชา การป้องกันทำได้โดยการกินอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งเป็นประจำ เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลาย วิตามินบีหนึ่ง เช่น ปลาร้า หอยดิบ หมาก เมี่ยง ใบชา
    - ขาดวิตามินบีสอง ทำให้เกิดโรค ปากนกกระจอก เป็นแผลที่ปาก แก้ไขได้โดยกินอาการประเภท นมสด น้ำเต้าหู้ ถัวเหลือง เป็นต้น
    - ขาดวิตามิน ซี ทำให้เกิดโรค ลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน แก้ไขได้โดยทางอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว มะขาม มะเขือเทศ เป็นต้น
  • โรคขาดแร่ธาตุ ถ้าร่างกายขาดสารแร่ธาตุก็จะทำหน้าของอวัยวะผิดปกติและจะทำให้เกิดโรคต่างๆ
  • - ขาดธาตุ แคลเชียม จะเป็นโรคกระดูกอ่อน กระดูกไม่แข็งแรง มักจะเป็นในเด็กและหญิงให้นมบุตร อาการของโรคจะทำให้ข้อต่อกระดูกบวม ขาโค้งโก่ง กล้ามเนื้อหย่อน กระดูกซี่โครงด้านหน้ารอยต่อนูน ทำให้อกเป็นสันเรียกว่า อกไก่ การป้องกันการขาดธาตุ แคลเชียม ให้กินอาหารประเภท นมสด ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก กระดูกอ่อน ผักสีเขียว และควรเสริมด้วยน้ำมันตับปลา
    - ขาดธาตุเหล็ก จะเป็นโรคโลหิตจาง ร่างกายอ่อนแอ เบื่ออาหาร ความต้านทานโรคต่ำ เปลือกตาขาวซีด ลิ้นอักเสบ เล็บเปราะ การป้องกันการขาดธาตุเหล็ก ให้รับประทานอาหารจำพวกเครื่องใน เช่นตับ หัวใจ เลือด เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว เป็นต้น
    - ขาดธาตุไอโอดีน ได้แก่โรคคอหอยพอก ต่อมไทรอยด์บวม และถ้าเป็นในเด็ก จะทำให้ร่างกายแคระ สติปัญญาเสื่อม หรือที่เรียกว่าโรคเอ๋อ ป้องกันได้ โดยกินอาหารทะเล ของเค็ม เกลือสมุทร (เกลือที่มาจากทะเล)
    - โรคอ้วน เกิดจากการที่ร่างกายรับประทานอาหาร มากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้มีการสะสมไขมันในร่างกายเกินความจำเป็น โรคอ้วนจะทำให้มีอาการโรคอื่นผสมได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน เป็นต้น การป้องกันโรคอ้วนให้หมั่นออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมัน ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรกินยาลดน้ำหนัก

สิ่งเป็นพิษในอาหาร
เป็นส่วนของสารพิษที่มีโทษต่อร่างกาย อาจะเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การฉีดยาฆ่าแมลง การใช้น้ำที่มีสารโลหะรดผักผลไม้ การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นผักบางชนิด เห็ดพิษ แหล่งที่มาของสิ่งเป็นพิษ จะมี 2 แบบ ได้แก่ แบบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ กับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
แหล่งที่มาของสารพิษ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
พืชและสัตว์บางชนิดจะมีส่วนที่เป็นสารพิษ เช่น งูบางชนิด แมลงป่อง แมงมุม ปลาปักเป้า มันสำปะหลังดิบ หัวกลอย ลูกลำโพง เห็ดป่าบางชนิด โดยอาหารเหล่านี้เมื่อกินเข้าไป มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างแรง ปวดท้องอย่างรุนแรง อาจตายได้ถ้ารักษาไม่ทัน
สารพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ รา แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น เมื่อบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนกับเชื้อพวกนี้จะทำให้เป็นโรค บิด วัณโรค โรคตับอักเสบ ไขสันหลัง อักเสบ ไข้เหลือง โรคท้องรวงในเด็ก เมื่อสะสมกันเป็นเลานานจะทำให้เป็นโรคมะเร็งตับ อาหารที่เสียงต่อการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ได้แก่ อาหารหมดอายุ ขนมปังที่ขึ้นรา พริก หอม กระเทียม ถั่วลิสง ที่ขึ้นราและมีความชื้น ขนมที่เปิดถุงไว้นาน มีความชื้น มีกลิ่นเหม็นหืน เป็นต้น
สิ่งที่เป็นพิษที่เกิดจากพยาธิ พยาธิใบไม้ พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวตืด พยาธิปากขอ โดยตัวพยาธิเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย นานๆเข้า ร่างกายจะซูบผอม ตับแข็ง บางชนิดจะวิ่งขึ้นสู่สมอง ดวงตา และสามารถที่จะตายในที่สุด การป้องกันไม่ให้เกิดพยาธิ ได้แก่การทานอาหารที่สุก หลีกเลี่ยงอาหารดิบ เนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

แหล่งที่มาของสารพิษที่เกิดขึ้นจากมนุษย์
ปัจจุบันได้มีการผลิตอาหารที่เป็นพืชหรือสัตว์เป็นจำนวนมาก ๆ ในรูปแบบของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้อาหารเหล่านี้มีการผลิตจำนวนมาก การใช้สารเคมีเพื่อเร่งให้พืชหรือสัตว์โตได้ทันความต้องการ การถนอมอาหารที่ต้องการให้เก็บได้เวลานานๆ หรือการแต่สีสันให้สวยงาม โดยแหล่งที่มาของสารพิษที่เกิดจากมนุษย์นี้จะแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่สารพิษที่มาจากขั้นตอนการปลูก หรือเลี้ยง กับสารพิษที่มาในรูปแบบอาหารปนเปื้อน
สารพิษที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตร เช่น พืชต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมี ฉีดสารกำจัดศัตรูพืช หรือแมลง เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี ในส่วนของสัตว์ได้มีการฉีดยาเร่งให้เพิ่มปริมาณเนื้อ ปริมาณไข่ หรือกาฉีดยาเพื่อป้องกันโรคให้กับสัตว์ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสารตกค้างทั้งสิ้น การป้องกัน ให้ล้างอาหารให้สะอาด แช่ด้วยด่างทับทิม หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ทราบที่มา หรือราคาถูกมากๆ ใบของพืชมีความสวยงามเกินความเป็นจริง หรือเป็นไปได้ ให้ปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ไว้รับประทานเอง
สารพิษที่เกิดจากสิ่งเจือปนอยู่ในอาหาร เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่นหรือรส สีผสมอาหาร สารเร่งเนื้อแดงของสัตว์ โดยสารพิษเหล่านี้จะเกิดในขั้นตอนของการผลิตอาหาร หรือการแปรรูปอาหาร การหลีกเลี่ยง การเลือกซื้อผักควรเลือกที่สด แต่ผักที่สวยจนเกินไปจะแสดงถึงการใส่สารเคมี จำนวนมาก เนื้อสัตว์ควรเลือกที่มีสีธรรมชาติ ไม่แดงเกินความเป็นจริง หลีกเลี่ยงอาหารที่เก็บได้หลายวัน อาหารกระป๋องที่เสียหาย บุบ หรือเกิดสนิม


ที่มา...https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=5629799223626594109#editor/target=page;pageID=7341000866174080904;onPublishedMenu=pages;onClosedMenu=pages;postNum=4;src=link

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น